
More From Kamolkarn
- เบื้องหลังการออกแบบสเปคซิเมนจาก Studio Marketing Materials
- Hangul surfs on Korean wave in Thailand
- เพื่อความงดงามของการเขียน
- Where are the Italics?
- นิโคลัส เจนสัน และความสำเร็จของเขา
- Making a difference. Type design and Politics
- ความนิยมในภาษาไทยมีหัว
- Dingbats บรรจุภาพลงแป้นพิมพ์
- 13+1 Thai Fonts
- เรื่องราวของเพื่อนเรา… เจ้าตัวอ้วน (ตอนที่ 2)
- เกมส่งต่อความคิด
- แนวคิดและความคิด
- ฟอนต์ ฟิคชั่น
- Earth Citizen คนของโลก
- Discovering Personal Visual Language – เรื่องส่วนตัว ภาพส่วนรวม
- ความสัมพันธ์ของเครื่องมือที่มีผลต่อแบบตัวอักษร
- Localized & Customized – ออกแบบอย่างเข้าใจเงื่อนไขเฉพาะท้องถิ่น
- Variable Font บันทึกบทใหม่ ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด
- More Fonts, More Fun – เปลี่ยนแปลงผ่านการใช้งานจริง
- A new face for the BBC – การปรับตัวเพื่อก้าวต่อของบีบีซี
- Between Parts and Wholeness – จากหนึ่งถึงทั้งหมด
- Between Things – เรื่องเล่าเเละเล่าเรื่องระหว่างตัวอักษร
สรุปการบรรยายจากงาน Today at Apple
➜ หากพูดถึงความสำคัญของตัวอักษร กล่าวง่ายๆ ได้ว่าเป็นสิ่งที่เราพบเจอในทุกวันนับตั้งแต่ตื่น ออกเดินทาง ทำงาน สื่อสาร จากสื่อสิ่งพิมพ์จนถึงการแสดงผลผ่านหน้าจอ ไม่ว่าจะกวาดสายตาไปส่วนไหนของพื้นที่ เราเห็นตัวอักษรในการสื่อสารผ่านแอปฯ แชทในหน้าจอ บิลบอร์ด ป้ายเตือน ชั้นในลิฟต์ ความคุ้นชินที่เรามีอาจทำให้เราไม่ได้มีโอกาสพิจารณาอย่างถ้วนถี่ว่าการเกิดขึ้นของฟอนต์เองนั้นก็มีที่มาที่ไป เพราะแท้จริงแบบตัวอักษรนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เบื้องหลังของฟอนต์มีคนทำ มีคนออกแบบ เพื่อให้ฟอนต์นั้นทำหน้าที่เป็นรหัสที่บันทึกข้อมูลและส่งต่อข้อมูลสู่คนอื่นๆ
ย้อนกลับไปในอดีต “ภาษา” เป็นข้อตกลงร่วมกันในสังคม หรือวัฒนธรรมหนึ่งๆ เราค้นพบภาพเขียนในถ้ำ ที่ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็น “ภาษาภาพ” แบบตัวอักษรเองก็เป็นภาษาภาพหนึ่งเช่นกัน ซึ่งในความหมายคำเดียวยังมีการเขียนเป็นภาษาที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละภาษา วัฒนธรรมก็มีการประกอบสร้างหรือการตั้งค่าที่แตกต่างกันออกไป จนมาถึงวันที่โลกเชื่อมโยงถึงกันเป็นหนึ่ง (Interconnected world) ผู้ใช้ภาษาจึงจำเป็นต้องร่วมกันหาข้อตกลงตรงกลาง ที่ซึ่งการแสดงผลของแต่ละตัวอักษรนั้นมาจากสิ่งที่เรียกว่า Unicode เพื่อให้ฟอนต์นั้นมีที่ทางอยู่อาศัยอย่างถูกต้อง เพราะถ้าหากผิดพลาด การบันทึกข้อมูลเหล่านั้นจะไม่มีค่าเลย ถ้ามนุษย์ไม่สามารถอ่านรหัสภาษานั้นได้
การใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดนั้นในช่วงแรกนั้นยังมีทางเลือกเป็นเพียงแบบฟอนต์เดียว ด้วยฟอนต์ขนาดเดียว จนได้รับการพัฒนามาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่สามารถเปลี่ยนแป้นพิมพ์ทรงกลม Prestige ELITE 72 เพื่อเพิ่มทางเลือกการใช้งานแบบตัวอักษรมากขึ้น
ในปัจจุบัน นวัตกรรมได้พัฒนาจากเครื่องพิมพ์ดีดมาเป็นแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว โปรแกรมต่างๆ มีแถบเมนูฟอนต์ให้เลือกหลากหลาย โปรแกรมบันทึกเอกสารอย่างเช่น pages มีการใช้งานแบบตัวอักษรในพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การค้นหา โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชัน หรือในอนาคตอันใกล้ที่จะมี Internet of Things แน่นอนว่าแม้แต่การเขียนโค้ดเองเราก็ต้องเข้ารหัสที่เป็นตัวอักษร เพื่อเป็น “ภาษา” ที่ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ให้เข้าถึงสิ่งที่เราต้องการ
จากในอดีตที่มีตัวตะกั่วสำหรับพิมพ์งาน ซึ่งสามารถทำงานได้ทีละหนึ่งเท่านั้น เพราะว่า 1 ตัวพิมพ์เท่ากับ 1 ขนาด ถูกออกแบบและหล่อมาแล้ว มาจนถึงวันนี้ที่ไฟล์ฟอนต์สามารถบรรจุทั้งแบบและน้ำหนักให้เลือกได้หลากหลายภายในไฟล์เดียวตรงกับความต้องการ ความหมายครอบคลุมไปถึงสมาชิกครอบครัวฟอนต์ในสไตล์ต่างๆ บรรจุภายใน 1 ไฟล์ฟอนต์ (.otf .ttf) ฟอนต์เมนูในที่นี้จึงเป็นทั้งอิสรภาพและความเท่าเทียมของผู้ใช้งาน
แบบตัวอักษรที่เกิดขึ้นเรียกว่าเป็นการเลือกเชิงทดแทน หมายถึงการทดแทนต่อลายมือของเรานั่นเอง ขณะเดียวกันก็ทำให้การออกแบบเข้ามาอยู่ใกล้กับทุกคนอย่างไม่รู้ตัว คนทั่วไปต้องเผชิญกับตัดสินใจเลือกใช้ตัวอักษรด้วยตนเอง จากเดิมที่อำนาจอยู่กับนักออกแบบและช่างเรียงพิมพ์ ฟอนต์จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการออกแบบ แต่เป็นการจัดเก็บข้อมูลในโลกของเทคโนโลยี
แบบตัวอักษรมาจากไหน?
คำตอบคือ หนึ่ง) เครื่องมือและวิธีการเขียน สอง) ปัญหาและข้อจำกัด
จากในอดีตที่แบบตัวอักษรนั้นเริ่มมาจากการแกะสลักหิน จึงเป็นเหตุผลให้แบบตัวอักษรในหมวดหมู่ Engraved นั้นมีเชิงฐาน เป็นเพราะอุปกรณ์ตอกลิ่มที่ทำให้มีปลายป้าน ปากกาหัวตัดที่ทำให้เกิดเส้นหนา-บางไม่เท่ากัน หรือการเขียนด้วยพู่กันและหมึกสำหรับตัวอักษรภาษาจีน เป็นเหตุให้เกิดแบบที่มีลักษณะเส้นที่มีความเคลื่อนไหว แม้แต่การเขียนด้วยปากกาหัวตัดก็เช่นเดียวกัน ปลายปากกาที่เป็นคนละชนิด ก็ให้แบบของตัวอักษรที่แตกต่างกันออกไป
ในส่วนของแบบที่เกิดมาจากปัญหาและข้อจำกัด อาทิ ในเรื่องของเทคนิคการพิมพ์หรือเรื่องของพื้นที่ในการแสดงเนื้อหา ที่ทำให้ต้องปรับแบบของตัวอักษรให้พอดีกับพื้นที่ที่มีอยู่ สำหรับกิจกรรม Today at Apple จึงได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองออกแบบจากข้อจำกัดต่างๆ ที่กำหนดไว้ โดยให้เลือกจาก
- แคบ — กว้าง — ธรรมดา
- มีหัว — ไม่มีหัว
- บาง — ธรรมดา — หนา
- ยกมือ — ต่อเนื่อง
- ปลายจบเปิด — ปลายจบปิด
- ตัวตรง — ตัวเอียงขวา — ตัวเอียงซ้าย
ผู้เข้าร่วมได้ทดลองออกแบบตัวอักษรผ่านอุปกรณ์ iPad โดยใช้แอปพลิเคชัน ProCreate ที่ คัดสรร ดีมาก ได้ทำบรัช (brush) ลายเส้นพิเศษขึ้นมาให้สำหรับกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่