
More From Kamolkarn
- เบื้องหลังการออกแบบสเปคซิเมนจาก Studio Marketing Materials
- Hangul surfs on Korean wave in Thailand
- เพื่อความงดงามของการเขียน
- Where are the Italics?
- นิโคลัส เจนสัน และความสำเร็จของเขา
- Making a difference. Type design and Politics
- ความนิยมในภาษาไทยมีหัว
- Dingbats บรรจุภาพลงแป้นพิมพ์
- 13+1 Thai Fonts
- เรื่องราวของเพื่อนเรา… เจ้าตัวอ้วน (ตอนที่ 2)
- เกมส่งต่อความคิด
- ฟอนต์ ฟิคชั่น
- Earth Citizen คนของโลก
- Discovering Personal Visual Language – เรื่องส่วนตัว ภาพส่วนรวม
- ความสัมพันธ์ของเครื่องมือที่มีผลต่อแบบตัวอักษร
- Localized & Customized – ออกแบบอย่างเข้าใจเงื่อนไขเฉพาะท้องถิ่น
- Variable Font บันทึกบทใหม่ ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด
- More Fonts, More Fun – เปลี่ยนแปลงผ่านการใช้งานจริง
- A new face for the BBC – การปรับตัวเพื่อก้าวต่อของบีบีซี
- Between Parts and Wholeness – จากหนึ่งถึงทั้งหมด
- Between Things – เรื่องเล่าเเละเล่าเรื่องระหว่างตัวอักษร
แนวคิดและความคิด
➜ ในสนามของการประชุม การนำเสนอ ขายงานต่อลูกค้า จนถึงคำความในโฆษณาที่สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ในทุกกระบวนการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปะระดับขึ้นหิ้ง แก็ดเจตใหม่ล่าสุด หรือภาพยนตร์สักเรื่องหนึ่ง ทั้งหมดนี้ล้วนต้องการจุดเริ่มต้นจากคำอยู่ 2 คำ คือแนวคิด (Concept) และความคิด (Idea)
ก่อนที่เราจะยกตัวอย่างการใช้งานคำสองคำนี้ ต้องทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า แนวคิดและความคิด ที่ถูกต้องกันเสียก่อน
ลองเริ่มต้นจากเรื่องง่ายๆ อย่าง ส้ม หากลองถามคนสิบคนให้นิยามความเป็นส้ม คำตอบที่ได้ย่อมมีหลากหลาย ทั้งสีของเปลือก รสชาติของผล กลิ่นหอมเฉพาะตัว ความสดชื่น วิตามินซี สายพันธุ์ต่างๆ ความเปรี้ยว คำตอบที่หลากหลายเหล่านี้คือ ความคิด หรือไอเดียที่ประกอบกันเพื่อบ่งชี้แนวคิดของส้ม นั่นคือผลไม้ชนิดหนึ่ง
จากตัวอย่างนี้สามารถสรุปได้ทันทีว่า แนวคิด คือแกนของความคิด (core) เปรียบได้กับแก่นต้นไม้ ส่วน ความคิด คือวิธีการปฏิบัติ (execution) เปรียบได้กับกระพี้ หรือวงขยายโดยรอบ
คิดถึงสิ่งหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นเวลาที่ผู้เขียนได้ทำนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรหรือพื้นที่ใหญ่-เล็กขนาดไหน สิ่งที่เกิดขึ้นคือการสรุปประเด็นของนิทรรศการเป็น 1 หน้ากระดาษ – สรุปเป็นครึ่งหน้ากระดาษ – สรุปเป็น 1 ย่อหน้า – สรุปเป็น 1 บรรทัด กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นตลอดการทำเนื้อหาจน 1 บรรทัดที่ได้มานั้นคือ แนวคิดที่ชัดเจนของนิทรรศการ โดยมีรูปแบบการปฏิบัติความคิดเป็นการจัดแสดงหรือการนำเสนอผ่านสื่อที่แตกต่างกันออกไป สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบตัวเองกันอยู่เสมอว่าสิ่งที่ปฏิบัตินั้นตรงกับแนวคิดหลักของนิทรรศการอยู่หรือไม่ ไม่ได้เกิดการออกนอกลู่นอกทางหรือกระทำในสิ่งที่ไม่สะท้อนต่อแนวคิดหลักของนิทรรศการ
การได้มาซึ่งแนวคิดจึงต้องเป็นธงหลักที่ปักอย่างแข็งแรง เพื่อให้เดินหน้าไปในทิศทางหรือวิธีการไหนก็จะสามารถกลับมาตรวจสอบกับแนวคิดหลักได้เสมอ แนวคิดหลักเพียง 1 บรรทัด จึงมีค่าเท่ากับพื้นที่ที่เหลือสำหรับการตีความหรือพลิกแพลงเป็นไอเดียที่หลากหลายได้มากเท่านั้น
เมื่อทุกคนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้าใจในเรื่องนี้ตรงกัน เมื่อนั้นเราก็ไม่ต้องได้เจอกับงานที่ว่าด้วยเรื่องสี กลิ่นหอม รสชาติเปรี้ยว โดยที่ไม่รู้เลยว่าสิ่งนั้นเป็นส้มหรือผลไม้ชนิดอื่น